ประวัติศาสตร์การใช้งาน ของ ตูโปเลฟ ตู-160

ในประจำการ

ตู-160 ปรากฏตัวต่อสาธารณะครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2532 ในปีพ.ศ. 2532 และ 2533 มันได้ทำการบินบันทึกสถิติเอาไว้ การเข้าประจำการเกิดขึ้นในเดือนเมษายนพ.ศ. 2530 จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2534 เครื่องบิน 19 ลำก็เข้าทำหน้าที่ในกองบินทิ้งระเบิดที่ 184 ของสหภาพโซเวียตในยูเครนเพื่อเข้าแทนที่ตูโปเลฟ ตู-16 และตูโปเลฟ ตู-22เอ็ม ในเดือนมกราคมพ.ศ. 2535 บอริส เยทซินได้ตัดสินใจที่จะยกเลิกการผลิตตู-160 ในเวลานี้เองเครื่องบินจำนวน 35 ลำก็ถูกสร้างขึ้นมา ในปีเดียวกันนั้นรัสเซียได้ใช้มันทำการบินเดียวนอกดินแดนของตนเอง หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเครื่องบิน 19 ลำจาก 35 ลำกลายมาเป็นทรัพย์สินของยูเครนถึงแม้ว่าในปีพ.ศ. 2542 จะมีการตกลงระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้แปดเครื่องในนั้นตกเป็นของรัสเซียเพื่อแลกเปลี่ยนกับลดหนี้ด้านพลังงานของยูเครน ยูเครนซึ่งได้ยอมแพ้ต่ออาวุธนิวเคลียร์หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ได้ทำลายตู-160 ที่เหลือยกเว้นเอาไว้หนึ่งลำ

หน่วยตู-160 ที่สองของรัสเซียคือกองบินทิ้งระเบิดที่ 121 ถูกจัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2535 แต่ในปีพ.ศ. 2537 มันก็ได้รับเครื่องบินเพียงหกลำเท่านั้น ระหว่างปีพ.ศ. 2542 และ 2543 เครื่องบินของยูเครนแปดลำถูกมอบหมายให้กับกองบินนี้ และมีการสร้างเพิ่มในปีพ.ศ. 2543 ในต้นปีพ.ศ. 2544 ในสนธิสัญญาสตาร์ท-2 รัสเซียได้สร้างตู-160 เพิ่มอีก 15 ลำ ซึ่งหกลำเคยเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดติดขีปนาวุธ เครื่องบินลำหนึ่งสูญหายในการทดสอบการบินหลังจากทำการซ่อมแซมเครื่องยนต์เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546

มีตู-160 จำนวน 14 ลำในประจำการเมื่อเดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2548 อีกสองลำกำลังสร้างเสร็จที่ฐานบินคาซาน หนึ่งในนั้นเข้าประจำการในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2549 พร้อมกับลำอื่นๆ ในปีเดียวกัน เมื่อถึงปีพ.ศ. 2544 มีตู-160 หกลำทำหน้าที่เป็นเครื่องบินทดสอบที่ซูคอฟสกี้ สี่ในหกยังคงทำการบินได้

ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดีรัสเซียวลาดิเมียร์ ปูติน ตู-160 ก็ได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซียอย่างเป็นทางการ

ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินได้ประกาศว่ารัสเซียทำยกเลิกการหยุดบินทางยุทธศาสตร์ในปีพ.ศ. 2534 ด้วยการส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดเข้าทำการลาดตระวเนระยะไกล ในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ตู-160 สองลำได้เข้ามาในน่านฟ้าของเดนมาร์ก เดนมาร์กได้ส่งเอฟ-16 ออกไปสองลำเพื่อเข้าสกัดกั้นและระบุตัวข้าศึก.[7]

ตามแหล่งข้อมูลรัฐบาลของรัสเซียเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550 ได้อ้างว่าตู-160 ลำหนึ่งถูกใช้เพื่อทิ้งระเบิดเชื้อเพลิงขนาดหนักเพื่อทำการทดสอบครั้งแรก[8]

ในปลายปีพ.ศ. 2550 เครื่องบินทิ้งระเบิดตู-160 ได้บินภายในระยะ 32 กิโลเมตรของเมืองคิงส์ตันในอังกฤษ มันเกือบเข้ามาในน่านฟ้าของอังกฤษซึ่งห่างจากชายฝั่ง 19 กิโลเมตรโดยที่เมืองดังกล่าวอยู่บนฝั่งห่างออกไป 16 กิโลเมตร มันไม่ถูกสกัดกั้นแม้ว่ามันจะอยู่ห่างจากอังกฤษเพียง 90 วินาที นี่แสดงให้เห็นว่าระบบป้องกันทางอากาศของอังกฤษมีความล้มเหลวที่จะตรวจับการเข้ามาของเครื่องบิน[9]

ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เครื่องตู-160 ถูกรายงานว่าสร้างเสร็จเรียบร้อยที่ฐานบินคาซาน หลังจากการบินทดสอบมันก็เข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซียในปีพ.ศ. 2551 รายงานยังบอกว่ากองทัพอากาศรัสเซียกล่าวว่าจะมีโครงการใช้อาวุธในระยะยาวที่รวมทั้งแผนที่จะสร้างตู-160 เพิ่มทุกๆ 1-2 ปีเพื่อให้ได้จำนวนทั้งสิ้น 30 ลำภายในปีพ.ศ. 2568-2573[10]

ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551 ตู-160 สองลำได้เดินทางสู่อ่าวบิสเคย์ที่ซึ่งพวกมันถูกสกัดกั้นโดยเครื่องบินของนอร์เวย์

ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551 ตู-160 สองลำได้ลงจอดที่เวเนซูเอลาในส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางทหาร เป็นการประกาศถึงพันธมิตรของรัสเซียเป็นเพิ่มความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ และยุโรปหลังจากเหตุการในจอร์เจีย กระทรวงกลาโหมของรัสเซียกล่าวว่าตู-160 สองลำกำลังทำภารกิจฝึกอยู่ มันกล่าวว่าอยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่รัสเซียสองนายซึ่งเครื่องบินจะทำการฝึกบินตลอดน่านน้ำสากลก่อนที่จะกลับฐานที่รัสเซีย ผู้แถลงการกล่าวเสริมว่าเครื่องบินได้รับการคุ้มกันโดยเครื่องบินของนาโต้ในตอนที่มันบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก[11][12]

ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ตู-160 จำนวนมากเกี่ยวข้องกับการฝึกทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่ที่สุดของรัสเซียตั้งแต่ปีพ.ศ. 2527 มีเครื่องบินทั้งสิ้น 12 ลำที่รสมทั้งตู-160 แบล็คแจ็คและตู-95 แบร์ที่ทำการยิงขีปนาวุธร่อนของพวกมัน เครื่องบินทิ้งระเบิดบางลำได้ทำการยิงขีปนาวุธทั้งหมดของมัน มันเป็นครั้งแรกที่ตู-160 ทำการยิงอย่างเต็มรูปแบบ[13][14]

ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตู-160 สองลำที่ทำภาจกิจลาดตระเวนเหนือทะเลเหนือได้ถูกสกัดกั้นโดยเอฟ-16 ของนอร์เวย์และทอร์นาโด ไฟเตอร์ของอังกฤษ[15]

ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ตู-160 หนึ่งลำบินเข้าน่านฟ้าของแคนาดาเหนือมหาสมุทรอาร์กติกหนึ่งวันให้หลังที่บารัก โอบามามาเยือนแคนาดาในการเดินทางออกนอกสหรัฐฯ ครั้งแรกของเขาในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เครื่องซีเอฟ-18 ฮอร์เน็ทสองลำของแคนาดาเข้าสกัดกั้นเครื่องตู-160 ทั้งสองประเทศอ้างว่าเป็นความบังเอิญ[16]

การทำให้ทันสมัยขึ้น

ในปีพ.ศ. 2549 กองทัพอากาศรัสเซียถูกคาดว่าจะได้รับตู-160 ห้าลำที่ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย[17] กองทัพอากาศรัสเซียจะได้รับอีกห้าลำในแต่ละปี[18] ซึ่งหมายความว่าการปรับปรุงให้ทันสมัยให้ทั้งกองบินจะสำเร็จภายในสามปีหากตรงตามตาราง

การเปลี่ยนแปลงมีดังนี้:

  • ระบบอิเลคทรอนิกอากาศแบบดิจิตอลทั้งหมดที่ต้านทานการรบกวน
  • มีการเชื่อมต่อผ่านทางดาวเทียม
  • ใช้เครื่องยนต์เอ็นเค-32 พร้อมความน่าเชื่อถือที่มากขึ้น[18]
  • ความสามารถในการใช้ขีปนาวุธร่อนแบบธรรมดาและขีปนาวุธร่อนแบบนิวเคลียร์[19]
  • ความสามารถในการจัดการกับขีปนาวุธทางทหารและดาวเทียม [20]
  • ความสามารถในการใช้ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์[21]
  • เรดาร์พิเศษ[22]

ในเดือนมกราคมพ.ศ. 2550 นายพลวลาดิเมียร์ มิไคลอฟได้ประกาศว่าจะมีการสร้างตู-160 เพิ่มอีกสองลำในทุกๆ สามปี และจะเริ่มโครงการใหม่เพื่อพัฒนาระบบอิเลคทรอนิกอากาศให้กับเครื่องบินทั้ง 16 ลำในปัจจุบัน[23]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตูโปเลฟ ตู-160 http://www.nationalpost.com/news/story.html?id=133... http://www.russiafile.com/tu160.htm http://www.focus-fen.net/index.php?id=n130099 http://www.aerospaceweb.org/aircraft/bomber/tu160/ http://web.archive.org/web/20080916201155/news.yah... http://www.evrazia.org/modules.php?name=News&file=... http://russianforces.org/blog/2008/10/bombers_cond... http://www.lenta.ru/articles/2007/09/12/bomb/ http://en.rian.ru/russia/20060422/46792049.html http://en.rian.ru/russia/20070118/59299841.html